วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

เภสัชกร

ประวัติ
ชื่อ นางสาวมุกรวี นามสกุล ยุทธการ
ชั้น ม.4/3 เลขที่ 42
ราศี พิจิก
วัน เดือน ปีเกิด 8 ธันวาคม 2535
สีที่ชอบ สีเขียว
อาหารที่ชอบ ข้าวสามหน้า
สถานที่ที่ชอบไป น้ำตก, ทะเล, เ กาะ
คติประจำใจ จะสูงจะต่ำอยู่ที่ทำตัว จะดีจะชั่วอยูที่ตัวทำ
เภสัชกรรม


เภสัชกรรม(อังกฤษ:Pharmacy เป็นคำในภาษากรีกแปลว่ายา) หมายถึงวิชาชีพปรุงยาและจ่ายยา(medication) ปัจจุบันมีความหมายรวมถึงการดูแลผู้ป่วย(patient care) ซึ่งประกอบด้วย
1.การปฏิบัติการทางคลีนิค
(clinical practice)
2.ประเมินและทบทวนการใช้ยา
(medication review)
3.ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยา
(drug information)
หน้าที่เหล่านี้ถูกกำหนดเป็นกฎหมายของประเทศต่างๆ ดังนั้น
เภสัชกร(Pharmacists) จึงต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้ยารักษาโรค และเป็นวิชาชีพในสาธารณะสุขพื้นฐาน
ผู้ซึ่งจะบริหารและจัดการการใช้ยาของชุมชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด



สัญลักษณ์ของเภสัชกรรม





โกร่งบดยา
โกร่งบดยา (
อังกฤษ:mortar and pestle, ความหมาย: ครก และ สาก) โกร่งบดยาคือเครื่องมือที่เภสัชกรใช้บดยาและปรุงยาซึ่งประกอบด้วยตัวโกร่ง(mortar) และลูกบด(pestle) โดยทั่วไปโกร่งจะมีลักษณะเหมือนชามคอนข้างหนาปากกว้าง ภายในผิวเรียบมัน ส่วนใหญ่โกร่งบดยาจะทำด้วยกระเบื้องพอร์ซเลน
(porcelain)ใช้สำหรับใส่วัสดุที่จะบด ลูกบดมีลักษณะเป็นแท่งใช้สำหรับทุบและบดวัสดุที่ต้องการให้ละเอียดและผสมเข้ากันส่วนมากจะทำด้วยไม้ โกร่งจึงเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมอยู่ประจำร้านขายยาในเวลาต่อมา


Rx (สัญลักษณ์)
สัญลักษณ์ในใบสั่งยา

Rx หรือ ℞ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในใบสั่งยาจากแพทย์ถึงเภสัชกรเริ่มแรกเข้าใจว่าเป็นการเขียนอักขระลงเลขยันต์เพราะสมัยก่อนการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพเช่นปัจจุบัน โอกาสที่คนไข้จะหายหรือตายไม่ต่างกันมากนัก การอาศัยโชคช่วยจึงมีส่วนในการรักษา โดยการเขียนคำในภาษาละตินว่า recipe (เรซิพี) หมายถึง สูตร ตำรับ เขียนไปเขียนมามีการตัดหางตัวอาร์เลยกลายเป็น Rx ที่เห็นกันในปัจจุบัน


ถ้วยยาไฮเกีย


ถ้วยยาไฮเกีย
ถ้วยยาไฮเกีย หรือ ถ้วยยาไฮเจีย (
อังกฤษ: Bowl of Hygeia) รูป
งูศักดิ์สิทธิ์พันรอบถ้วยยาของเทพีไฮเจีย(Hygeia) ซึ่งเป็นเทพี แห่งสุขภาพอนามัย ความสะอาด และสุขลักษณะ และเป็นธิดาของแอสคลีปิอุส (Asclepius) ที่มีหน้าที่ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และต่อมาถูกยกย่องเป็นเทพแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน ส่วนไฮเกียถูกยกย่องเป็นเทพีแห่งเภสัชกรรมด้วย

ถ้วยตวงยา





Conical Flask
ถ้วยตวงยา (
อังกฤษ:conical measure) เป็นภาชนะที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี บริเวณปากภาชนะจะบากเป็นร่องเพื่อให้เทสารเคมีที่เป็นของเหลวออกมาได้สะดวก และด้านข้างจะมีขีดเครื่องหมายบอกปริมาตรของเหลวที่บรรจุอยู่ด้วย ภาชนะเหล่านี้อาจทำด้วยพลาสติก แก้ว หรือโบโรซิลิเกต
(borosilicate)
ถ้วยตวงยา (measuring cups) สำหรับผู้ป่วยนิยมทำด้วย
พลาสติก
เพราะแตกเสียหายยาก ส่วนที่ทำด้วยแก้วโบโรซิลิเกต มักใช้ในห้องปฏิบัติการเภสัชกรรม

เฉลว




เฉลว
เฉลว(
อังกฤษ
:Chalew) เป็นเครื่องหมายทำด้วยเส้นตอกไม้ไผ่หรือหวายเส้น หักขัดกันเป็นมุม ตั้งแต่สามมุมขึ้นไป โบราณใช้เฉลวในงานต่างๆ ดังนี้
ใช้แสดงบอกสัญลักษณ์ว่าเป็นร้านขายของ
ใช้แสดงบอกสัญลักษณ์ว่าเป็นที่ตั้งด่านเก็บภาษี
ใช้บอกอาณาเขตการจับจองที่นาโดยการปักเฉลวไว้ที่สี่มุมของที่ที่ตนเป็นเจ้าของ
ปักไว้ที่ที่แสดงว่าเป็นบริเวณที่หวงห้ามต่าง ๆ หรือบอกเตือนให้ระวังอันตราย
ใช้ในการแพทย์แผนโบราณ ว่ากันว่าหม้อที่บรรจุยาถ้าไม่ลงคาถามีเฉลวปักกันไว้ เมื่อผ่านบ้านหมออื่นหรือคนหรือสิ่งใดที่ถือ อาจทำให้เครื่องยาที่มีอยู่ในนั้นเสื่อมคุณภาพหายความศักดิ์สิทธิ์ หรือกันไม่ให้ใครเติมอะไรลงไปหรือกันอะไรที่จะไปทำลายยาให้เสียไป ดังนี้จึงต้องปักเฉลวไว้ เวลาคลอดลูกอยู่ไฟโบราณก็มีการปักเฉลวด้วย นอกจากปักเฉลว
แล้วยังมีการเสกคาถาอาคมลงยันต์บนเฉลวที่ใช้ปักหม้อยาด้วย ซึ่งคาถาจะแตกต่างไปตามแฉกของเฉลวดังนี้
เฉลว 3 แฉก ลงอักขระ มะ อะ อุ หมายถึงขอให้อำนาจพระผู้เป็นเจ้าทั้ง หลายจงประสาทพรให้หายป่วย ซึ่งเดิมเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
เฉลว 5 แฉก ลงอักขระพระเจ้า 5 พระองค์คือ นะโมพุทธายะ
เฉลว 8 แฉก ลงอัขระ อิติปิโสแปดทิศ
โดยที่เฉลวเป็นเครื่องหมายถึงยันต์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เกี่ยวข้องกับยา เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำสัญลักษณ์ของหน่วยงานและสัญญลักษณ์ของวิชาชีพ
เภสัชกรรมอีกด้วย






กากบาทเขียว



กากบาทเขียว สัญลักษณ์หนึ่งของเภสัชกรรม
กากบาทเขียว (
อังกฤษ: pharmacy cross) เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรรม นิยมมากในประเทศสหราชอาณาจักรและประเทศฝรั่งเศส


สาขาวิชาวิชาชีพเภสัชกร


ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านเภสัชกรรมในประเทศไทยจะใช้เวลา 5-6 ปี เรียกว่าเป็นเภสัชกร (Pharmacist) และจะกระจายกันไปทำงานในสาขาต่างๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรมซึ่งประกอบด้วย
เภสัชชุมชน
(Community Pharmacy)
เภสัชโรงพยาบาล
(Hospital Pharmacy)
เภสัชอุตสาหกรรม
(Industrial Pharmacy)
เภสัชนักวิเคราะห์
(Analytical Pharmacy)
เภสัชการตลาด
(Detailed Pharmacy)
เภสัชควบคุมอาหารและยา(Legal Pharmacy)



การศึกษาในสาขาเภสัชศาตร์
หลักสูตรเภสัชศาสตร์ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย แบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ ในปัจจุบัน คือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต 5 ปี และหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี ดู
คณะเภสัชศาสตร์

การแยกหน้าที่กันระหว่างสั่งยาและจ่ายยา
ในบางป
ระเทศอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหน้าที่เภสัชกรแยกจากแพทย์อย่างเคร่งคัดและชัดเจน โดยในกฎหมายกำหนดว่าหน้าที่สั่งยา (practice of prescribing) ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์จะต้องแยกจากหน้าที่การจ่าย (practice of dispensing) ซึ่งเป็นหน้าที่ของเภสัชกรให้ชัดเจน คือกฎหมายได้กำหนดว่าเภสัชกรเท่านั้นที่สามารถจ่ายเภสัชภัณฑ์ได้ โดยที่เภสัชกรและแพทย์จะต้องไม่เป็นหุ้นส่วนในธุรกิจยานั้นด้วยกัน ที่กฎหมายบัญญัติให้แยกหน้าที่ให้ชัดเจนก็เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้ยาเกินความจำเป็นจากการที่ผู้สั่งยาและจ่ายยาเป็นบุคคลเดียวกัน


เภสัชชุมชน
เภสัชชุมชนคือเภสัชกรที่ทำงานใน
ร้านขายยาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนรอบร้านขายนั้น ซึ่งโดยทั่วไปเภสัชกรก็จะเป็นเจ้าของร้านขายยานั้นด้วยการทำงานของเภสัชก
รในร้านขายยาจะมีลักษณะ 2 ส่วนที่ขัดแย้งกัน (dichotomy) คือ
ส่วนแรกคือความเป็นผู้มีวิชาชีพทางด้านสาธารณะสุขที่จะต้องบริการผู้ป่วยในเรื่องการใช้ยาอย่างถูกต้อง ถูกโรค มีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดที่สุด
ส่วนที่สองคือความเป็นเจ้าของธุรกิจร้านขายยาซึ่งจะต้องคำนึงถึงผลกำไร และความอยู่รอดของร้าน
จะเห็นว่าหน้าที่ 2 ส่วนคอนข้างขัดแย้งและสวนทางกันดังนั้นเภสัชกรที่ดี จะต้องบริหารความขัดแย้งนี้ให้อยู่ในภาวะสมดุลโดยใช้จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเป็นตัวควบคุมการปฏิบัติงานของ
เภสัชกร
ชุมชนในร้านขายยา ส่วนหนึ่งจะเป็นการขายยาตามใบสั่งแพทย์ และอีกส่วนหนึ่งคือการขายยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่รักษาโรคง่ายๆ เช่นเป็นไข้ปวดหัวตัวร้อน โดยทั่วไปร้านขายยาจะเป็นที่เก็บยาและจ่ายยาไปในตัวซึ่งทั้งหมดจะควบคุมโดยกฎหมายยาซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
มีสถานที่เก็บยาอย่างเหมาะสมถูกต้องและพอเพียง
ต้องมีอุปกรณ์และเครื่องมือในการปรุงยาและจ่ายตามที่กำหนด
ต้องมีห้องหรือสถานที่ที่ให้เภสัชกรใช้ปรุงยา จ่ายยา แนะนำผู้ป่วย ฝึกผู้ช่วยเภสัชกร
ต้องมีเภสัชกรอยู่ประจำร้านตลอดเวลาที่เปิดดำเนินการ
กฎหมายในบางประเทศระบุว่าผู้เป็นเจ้าของร้านขายยาต้องเป็น
เภสัชกร(registered pharmacist)